ทำไมต้องทำประกันภัย

ทำไมต้องทำประกันภัย

    เรื่องหนึ่งที่ทุกคนต้องคำนึงถึงเมื่อจะซื้อรถยนต์หรือมอเตอร์ไซด์ คงหนีไม่พ้นประกันรถยนต์ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะกฎหมายของบ้านเราบังคับให้ผู้ที่ครอบครองยานพาหนะที่ใช้สัญจรบนท้องถนนต้องทำประกันภัย แต่หลายคนอาจมองว่า ทำไมต้องทำประกันภัยกันล่ะ และอาจยังไม่รู้ว่าประกันรถยนต์ในปัจจุบันมีกี่แบบ ให้ความคุ้มครองแบบไหนอย่างไรบ้าง ซึ่งคราวนี้จะขอนำเสนอเรื่องราวของประกันรถยนต์แบบต่าง ๆ ที่คนรักรถจำเป็นต้องรู้มาฝากครับ


    กฎหมายไทยบังคับให้ผู้ใช้รถทุกคันทุกประเภทต้องทำประกันภัยอย่างน้อยที่สุดคือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ครับ

           1. เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถโดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต

           2. เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล / สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ

           3. เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ

           4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว


           
ประเภทของประกันรถยนต์

          
 1. ประกันภาคบังคับ
    ประกันภาคบังคับ หรือที่รู้จักกันดีว่า ประกัน พ.ร.บ. นั่นเอง ซึ่งบังคับให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำเพื่อคุ้มครองตัวบุคคลจากผลกระทบของอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ โดยกฎหมายจะให้ความคุ้มครองในรูปของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายกำหนด

                ผู้ทีได้รับความคุ้มครอง

           - ผู้ประสบภัย หมายถึง ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่,ผู้โดยสาร,คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้

           - ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต

                โทษของการไม่ทำประกันภัย

           การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

                อัตราเบี้ยประกัน

           ประกันภัย พ.ร.บ. จะกำหนดอัตราเบี้ยสูงสุดอัตราเดียวตามประเภทของรถ เช่น จักรยานยนต์ รถยนต์ไม่เกิน ที่นั่ง เป็นต้น และการใช้งานของรถ เช่น รถส่วนบุคคล รถรับจ้าง หรือ ให้เช่า เป็นต้น ซึ่งไม่อนุญาตให้บริษัทประกันภัยคิดค่าเบี้ยประกันสูงเกินกว่าที่กำหนด โดยราคาของเบี้ยประกันมีดังนี้ครับ

           - รถเก๋งไม่เกิน ที่นั่ง ประมาณ 800 บาท

           - 
รถกระบะ ประมาณ 1,000 บาท

           - รถตู้ ประมาณ 1,200 บาท

           - จักรยานยนต์ ประมาณ 160-650 บาท ตามขนาดความจุกระบอกสูบหรือ ซีซี เครื่องยนต์

           
2. ประกันภาคสมัครใจ 
           คือการทำประกันที่เกิดขึ้นตามความสมัครใจของเจ้าของรถ โดยส่วนมากประกันภาคสมัครใจจะให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งรถและผู้ประสบเหตุมากกว่าภาคบังคับ มีวงเงินคุ้มครองและสิทธิพิเศษอื่น ๆ มากกว่า แต่ก็มีค่าใช้จ่ายมากกว่าภาคบังคับด้วยเช่นกัน


 ปัจจุบัน ประกันภาคสมัครใจมีประเภทมากมาย แต่แบ่งออกเป็น ประเภทหลัก ๆ ดังนี้เลยครับ

                   
ประกันภัยประเภท 1 (ประกันภัยชั้น 1)

           ถือเป็นประกันที่คุ้มครองครอบคลุมที่สุด รับทำเฉพาะรถเก๋งและรถกระบะส่วนบุคคลเท่านั้น โดยบริษัทประกันจะรับผิดชอบทั้งเจ้าของรถและคู่กรณีทั้งทางกายและทรัพย์สิน รวมถึงอุบัติเหตุอื่น ๆ เช่น ไฟไหม้ โจรกรรม และภัยธรรมชาติตามที่สัญญาระบุไว้ ส่วนวงเงินคุ้มครองและมูลค่าเบี้ยประกันจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งทุกคนควรศึกษาอย่างถี่ถ้วนเพื่อประโยชน์ของเราเองครับ
           ประกันภัยประเภท หรือประกันภัยชั้น จะมีมูลค่าเบี้ยประกันสูงที่สุด โดยราคาตั้งแต่ 13,000-36,000 บาท ทั้งนี้ ราคาเบี้ยจะสูงขึ้นตามอายุของรถและขนาดเครื่องยนต์ครับ

                  
          ประกันภัยประเภท 2 (ประกันภัยชั้น 2) 

 ประกันภัยประเภท จะคุ้มครองใกล้เคียงกับประเภท โดยบริษัทจะรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดทางกายของผู้เอาประกันและคู่กรณี ความเสียหายต่อรถหรือทรัพย์สินของคู่กรณี รวมถึงเหตุอื่น ๆ เช่น ไฟไหม้ โจรกรรม และภัยธรรมชาติตามที่ระบุไว้ แต่ประกันภัยประเภท จะไม่คุ้มครองรถยนต์ของเราเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
           ปัจจุบัน ประกันภัยประเภท ไม่ค่อยได้รับความนิยมเพราะไม่คุ้มครองผู้เอาประกันจากอุบัติเหตุ โดยประกันชั้น ที่ทำให้รถส่วนบุคคลจะมีราคาประมาณ 6,000-10,000 บาท


                  
ประกันภัยประเภท 3 (ประกันภัยชั้น 3)  

 ประกันประเภทนี้รับทำทั้งรถส่วนบุคคลและรถเพื่อการพาณิชย์ คุ้มครองต่อตัวรถและทรัพย์สินของคู่กรณี รวมถึงรักษาพยาบาลทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่จะไม่คุ้มครองตัวรถและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน ทั้งนี้ ผู้เอาประกันสามารถเลือกวงเงินความคุ้มครองได้ ซึ่งมีผลต่อราคาเบี้ยประกันด้วย

           ประกันภัยประเภท จะรู้จักกันในคำว่าประกันชั้น โดยรถเก๋งส่วนบุคคลจะมีราคาตั้งแต่ 900-6,000 บาทครับ

        ประกันภัยประเภท 5 (ประกันภัยชั้น 2+,3+)  

 ประกันประเภทใหม่ที่ให้ความคุ้มครองเหมือนชั้น 2 และ 3 แต่เพิ่มความคุ้มครองตัวรถและทรัพย์สินของผู้เอาประกันด้วย จึงเรียกว่าเป็นประกันชั้น 2+ และ 3+ นอกจากนี้ ยังอาจเลือกให้คุ้มครองไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ หรือโจรกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อเสนอของแต่ละบริษัทประกันครับ
           ประกันประเภท ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้รถ โดยให้ความคุ้มครองครอบคลุมแต่มีราคาต่ำกว่า ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5,000-20,000 บาท


,#ประกันวินาศภัย,lmg ประกันภัย, #ประกันภัยรถยนต์ชั้น3, #บริษัทวิริยะประกันภัย, #ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ราคา , #กรมการประกันภัย,สหมงคลประกันภัย,ทิพยประกันภัย ดีไหม, #สมัครงานประกันภัย, #ไทยเศรษฐกิจประกันภัย , #ประกันวิริยะ, #ประกันภัยรถยนต์ธนชาต,สมัครงานวิริยะประกันภัย,ธนชาตออนไลน์,ประกันภัย รถยนต์ ที่ไหน ดี , #ประกันภัยชั้น 1, #วิริยะ ประกันภัย รถยนต์ ชั้น 1,คปภ,ราคาประกันภัยรถยนต์ชั้น1,ประกันภัยรถยนต์โลตัส , #ราคาประกันภัยรถยนต์, #ประกันภัยไทยวิวัฒน์การประกันภัย,กมลประกันภัย,แอกซ่าประกันภัย,ซื้อประกันรถยนต์ , #ประกัน 3+,#ประกันรถยนต์ชั้น 3, #งานประกันภัย, #สมัครงาน, #ประกันภัย, #ตัวแทน,พรบ, #เช็คเบี้ย, #ราคา , #นายหน้า,ประกันชั้น 2, #ประกัน 2+,นําสินประกันภัย, #ไทยประกันสุขภาพ, #ประกันภัยรถยนต์ 2+ ,#บริษัทประกันภัยรถยนต์, #บริษัทประกันภัย, #ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย, #ประกันเดินทางต่างประเทศ , #อินทรประกันภัย,ไทยศรีประกันภัย,สินทรัพย์ประกันภัย,ประกันรถ,กรุงไทยพานิชประกันภัย,ประกันอุบัติส่วนบุคคล,ไทยประกัน , #สามัคคีประกันภัย#,ประกัน,ประกันชั้น3,ประกันอุบัติเหตุ,ประกันภัย,ไทยประกันภัย,นวกิจประกันภัย,ประกันชั้น 1 , #วิริยะ, #เมืองไทย,ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1, #เอเชียประกันภัย, #ประกันคุ้มภัย, #ประกันรถยนต์ชั้น 1 , #เทเวศประกันภัย,เจ้าพระยาประกันภัย,ธนชาตประกันภัย,สินมั่นคงประกันภัย,อาคเนย์ประกันภัย,มิตรแท้ประกันภัย,สินมั่นคง , #ประกันรถยนต์, #เมืองไทยประกันภัย,ทิพยประกันภัย,ประกันชีวิต,ประกันสุขภาพ,กรุงเทพประกันภัย , #ประกันภัยรถยนต์, #วิริยะประกันภัย, #ธนาคารธนชาต, #ธนชาต

เห็นไหมล่ะครับว่าเมื่อเราต้องประสบเหตุไม่คาดฝัน ประกันรถยนต์มีประโยชน์ไม่น้อยเลย ทั้งช่วยคุ้มครองตัวเราและคู่กรณี รวมถึงดูแลความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุร้ายด้วย แต่ทั้งนี้ การเลือกประกันก็จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเราเอง และประกันรถยนต์ช่วยเพียงแก้ไขปัญหาหลังจากเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น ภาระการป้องกันอุบัติเหตุเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่ทุกคนที่ต้องช่วยกันครับ

***ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่***
คุณจิระวัฒน์ อัสดรมิ่งมิตร
Tel : 085-0486957
Line : 0850486957
Blog : jirawatinsurancecenter.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น